วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กล้วย



กล้วยมีฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร   แป้งจากผลกล้วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวเนื่องจากแอสไพริน indemethacin, phenylbutazone, prednisolone และ cyscamine และป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูตะเภาเนื่องผลกล้วยหอมดิบขนาด 7 ก./ตัว/วัน มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นจาก indomethacin 20 มก./กก.  ส่วนกล้วยน้ำว้าดิบไม่มีฤทธิ์  เมื่อทดลองสกัดสารออกฤทธิ์ด้วยอัลกอฮอล์ 60% พบว่าสารสกัดจากกล้วยหอมและกล้วยพาโลดิบ ขนาด 0.5 และ 1 ก./กก. มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจาก indomethacin และรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากกรดอะซิติค แต่มีฤทธิ์ต่ำ   ความยาวเฉลี่ยของแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวที่กินสารสกัดจากกล้วยพาโลและกล้วยหอมในขนาด 1 ก./กก./วัน นาน 3 วัน ก่อนที่จะเกิดแผลเนื่องจาก indomethacin เท่ากับ 4.47 ±1.2 และ 1.87 ± 0.44 มม. ตามลำดับ (กลุ่มควบคุม 14.56 ±2.43 มม.)  และสารสกัดจากกล้วยหอมเท่านั้นที่มีผลในการรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจาก indomethacin แต่มีฤทธิ์ต่ำ  และกล้วยทั้ง 2 ชนิดให้ผลคล้ายกันในการรักษาแผลที่เกิดจากกรด  

                                             

  
สารแขวนลอยจากผลกล้วย sweet banana ดิบ เมื่อใช้ความเข้มข้นสูงสามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลันที่เกิดจาก indomethacin เช่นเดียวกับผลของ phosphatidylcholine และเพคตินซึ่งเป็นสารในกล้วย  และในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารแบบเรื้อรัง สารแขวนลอยจากกล้วยดิบให้ผลการรักษาไม่สมบูรณ์และออกฤทธิ์ชั่วคราวเท่านั้น
 เมื่อให้หนูขาวกินแป้งจากกล้วยป่าขนาด 1 ก./กก.  พบว่ายับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจาก indomethacin, เอทานอล และ hypothermic-restraint  69, 44 และ 48% ตามลำดับ   หนูขาวที่กินแอสไพริน แล้วกินผลกล้วยป่าดิบ พบว่าป้องกันไม่ให้เกิดแผลได้ เมื่อกินผงกล้วยดิบขนาด 5 ก. และรักษาแผลที่
เป็นแล้วในขนาด 7 ก.  สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์เป็น 300 เท่า ของผงกล้วยดิบ ส่วนกล้วยสุกไม่ให้ผง

       แป้งจากผลกล้วยออกฤทธิ์สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก และเร่งการแบ่งตัวของเซลล์  นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้าง macrophage cell อันส่งผลไปถึงการรักษาแผล จากฮีสตามีน  หนูที่กินกล้วยหักมุกดิบขนาด 5 ก./วัน นาน 2 วัน จะป้องกันการเกิดแผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น