วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

มะม่วง

มะม่วง ภาษาอังกฤษ : Mango จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย และถือว่าเป็นผลไม้ประจำชาติของประเทศอินเดียอีกด้วย มะม่วง ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mangifera indica มะม่วงในบ้านเรานั้นจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งส่งประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 ของโลก
สำหรับพันธุ์มะม่วงนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์มาก โดยสายพันธุ์ที่แพร่หลายมากที่สุดเห็นจะเป็น พันธุ์เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ อกร่อง ฟ้าลั่น โชคอนันต์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นก็จะมีรสชาติและลักษณะแตกต่างกันออกไป
ประโยชน์ของมะม่วง ที่เราเห็นเป็นประจำก็คงจะไม่พ้นการนำมารับประทานเป็นผลไม้สดทั้งดิบและสุก หรือมีการไปทำเป็นอาหารว่างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวเหนียวมะม่วง พายมะม่วง และนำไปใช้ประกอบอาหาร เช่น ใส่น้ำพริก ยำ ส้มตำ ส่วนยอดอ่อนหรือผลอ่อนก็สามารถนำมาประกอบอาหารแทนผักได้ด้วย เป็นต้น

สำหรับข้าวเหนียวมะม่วงนั้นจะมีแคลอรี่สูงเพราะประกอบไปด้วยน้ำตาลไขมันจากกะทิเป็นหลัก ผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวมีสุขภาพดีการรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงจึงไม่น่าจะมีปัญหากับสุขภาพ แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน การรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงอาจจะไปทำให้น้ำตาลและไขมันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ น้ำหนักตัวเพิ่ม ความดันสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะห้ามรับประทานเสียทีเดียว แต่การรับประทานก็ควรรับประทานอย่างระวัง และพิจารณารับประทานให้พอดีกับสุขภาพก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

มังคุด


มังคุด
 เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75-85% ดินควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.5-6.5 และที่สำคัญควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง มังคุดจะให้ผลผลิตประมาณปีที่ 7 หลังปลูก แต่ผลผลิตต่อต้นในระยะแรกจะต่ำ ช่วงที่ให้ผลผลิตดีประมาณ 13 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 60กิโลกรัม/ต้น (น้ำหนักผลเฉลี่ย 80 กรัม/ผล) มังคุดเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารค่อนข้างลึก ประมาณ 90-120 เซนติเมตร จากผิวดิน ดังนั้นจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกค่อนข้างนาน โดยต้นมังคุดที่สมบูรณ์ใบยอดมีอายุระหว่าง 9-12สัปดาห์เมื่อผ่านช่วงแล้งติดต่อกัน 21-30 วัน และมีการกระตุ้นน้ำถูกวิธีมังคุดจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตาดอก – ดอกบาน) ประมาณ 30 วันช่วงพัฒนาของผล (ดอกบาน – เก็บเกี่ยว) ประมาณ 11-12 สัปดาห์ ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ เริ่มมีสายเลือดได้ 1-2 วัน ผลมังคุดที่มีสีม่วงแดงเก็บรักษาที่อุณหภูมิ10-13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% เก็บรักษาได้นานประมาณ 2-4 สัปดาห์ ฤดูกาลผลผลิตของภาคตะวันออกอยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน ภาคใต้อยู่ในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน

มังคุดเป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูง 7-25 เมตร ใบเดี่ยวรูปรี ดอกออกเป็นคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ผลแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล ผลมีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก ผลมังคุดมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมือนสตรอเบอรี่ที่ยังไม่สุกหรือส้มที่มีรสหวาน เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้ มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้"อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติด อยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินีส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน อร่อยอย่างยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกและขายบนเกาะบางเกาะในหมู่เกาะฮาวาย ต้นมังคุดต้องปลูกในสภาพอากาศอบอุ่น

ส้ม

ส้ม เป็นผลไม้นางเอก มีสารไฟโตนิวเทรียนต์มาก ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงสารกลุ่มฟลาวาโนนส์ สารแอนโธไชยานินส์ สารโพลีฟีนอลส์ และวิตามินซี ที่ช่วยทำให้ผิวสวยกระจ่างใส .. ส้ม มีคอลลาเจน ช่วยซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น ไม่แห้งแตก และช่วยสมานแผลหลังผ่าตัด แผลไฟไหม้ ให้หายเร็ว และแผลเรียบเนียนขึ้น
  ให้แคลเซียมและวิตามินดี แก่ร่างกาย มากพอๆ กับนม และแคลเซียมจะไปเสริมสร้างกระดูก แต่ถ้าไม่มีวิตามินดี ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ นอกจากนี้ส้มยังมีวิตามินซี ซึ่งจะช่วยเพิ่มกระบวนการดังกล่าวอีกด้วย แต่พึงเข้าใจด้วยว่า กรดอะซีติกในส้ม อาจทำลายสารเคลือบฟันได้ จึงไม่ควรแปรงฟันภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากทานส้มหรือดื่มน้ำส้ม
 มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันการอักเสบ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน ยิ่งไปกว่านั้นส้มยังช่วยป้องกันและรักษาเลือดออกตามไรฟัน และมีคุณสมบัติช่วยล้างพิษในร่างกาย
เปลือกของส้ม มีสารมหัศจรรย์อยู่มากมาย และหนึ่งในนั้นคือการ Polymethoxylated Flavones (PMFs) และสาร D-Limonene ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอล ปรับระดับน้ำตาลในเลือด และกระตุ้นการกรองสารพิษของตับ นอกจากนี้จากการศึกษายังชี้ว่า เม็ดสีในส้มเขียวหวานจะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) โดยไม่ส่งผลต่อคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
ตำรับจีนมักเสิร์ฟเปลือกส้ม คู่กับอาหารเนื้อสัตว์ เพื่อย่อยอาหารที่มีไขมันสูง บางตำราแนะนำให้เริ่มวันใหม่ด้วยน้ำเลมอน 12 ออนซ์ ผสมกับน้ำกรองแล้วที่อุณหภูมิห้อง จะช่วยชะล้างของเสียในระบบย่อยอาหารและลำไส้ได้ เพราะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ
อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยปกป้องแก้วตาจากโรคต้อกระจก และจากการศึกษายังพบว่า การบริโภควิตามินอีและซีในปริมาณมาก จะช่วยป้องกันโรคต้อกระจกได้ แม้แต่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้สูง
 จะทานก็ได้ จะดมผิวก็ได้ เพราะส้มมีสารโฟเลตซึ่งช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนซีโรโทนิน อันเป็นสารแห่งความสุข กลิ่นของผลไม้ตระกูลส้มสามารถทำให้เบิกบานได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับพ่อแม่ที่อยากให้ลูกน้อยดื่มน้ำส้มคั้น จะให้ดื่มได้ ต้องหลัง 6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่สามารถให้อาหารเสริมได้ แต่ควรผสมน้ำส้มในน้ำ ในปริมาณครึ่งต่อครึ่ง การให้น้ำส้มที่มีรสชาติเข้มข้นโดยไม่ผสมอะไรเลยอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบดูดซึมของลูกได้ พอลูกโตขึ้นจึงค่อยๆ ลดปริมาณน้ำลง จนถึงอายุ 5 ขวบจึงสามารถให้น้ำส้มอย่างเดียวโดยไม่ต้องผสมน้ำ อนึ่ง เนื่องจากน้ำส้มมีรสหวานมาก การผสมน้ำ ยังเป็นข้อดีที่ช่วยให้ลูกน้อยไม่ติดหวานตั้งแต่เล็ก
     ผู้ที่เป็นโรคไตและเบาหวาน หากต้องการจะทานส้ม ควรทานด้วยความระมัดระวัง เพราะส้มเป็นผลไม้ที่ให้โปแตสเซียมและน้ำตาลสูง ควรทานเป็นผลซึ่งมีกากใย จะดีกว่าดื่มน้ำส้มคั้น เพราะน้ำส้มคั้น 1 แก้วต้องใช้ส้มมาคั้นหลายผล ไม่มีกากใย และบางเจ้าจะเติมรสหวานเพิ่มเติม

มะไฟ

ะไฟ จัดเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย โดยปลูกกันแพร่หลายในอินเดียและมาเลเซีย และยังพบได้ทั่วไปตามในแถบเอเชีย มะไฟเป็นไม้ยืนต้น มีผลออกเป็นช่อ ผลอ่อนของมะไฟมีขนคล้ายกำมะหยี่ ถ้าผลแก่ผิวจะเกลี้ยง มีเปลือกสีเหลือง เนื้อมีสีขาวหรือขาวใสอมชมพู แล้วแต่สายพันธุ์ที่ปลูก ส่วนเมล็ดจะแบนและมีสีน้ำตาล พันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปได้แก่ พันธุ์เหรียญทอง (ผลใหญ่ ก้นเรียบ มีเนื้อสีขาว), พันธุ์ไข่เต่า (ผลกลมรี ก้นแหลม เนื้อขาวอมชมพู หวานอมเปรี้ยวมากกว่าพันธุ์เหรียญทอง) และอีกสายพันธุ์คือมะไฟสีม่วง โดยเปลือกจะมีสีม่วง (ประเทศจีน)
ผลมะไฟสุก จะมีรสเปรี้ยวอมหวาน และมีกรดอินทรีย์อยู่หลายชนิด รวมไปถึง วิตามินซี น้ำตาและอื่นๆ ที่เป็นเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สดๆ หรือจะนำมาใช้ทำเป็นน้ำผลไม้ก็ได้ นอกจากผลของมะไฟที่มีประโยชน์แล้ว ส่วนอื่นๆของมะไฟก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย เช่น ใบของมะไฟ และรากสด-แห้ง ต่างก็มีประโยชน์เช่นกัน โดยมีสรรพคุณในการรักษาโรคและอาการต่างๆได้

สัปะรส

สับปะรด เป็นผลไม้ธรรมดาๆ ที่เราสามารถหาซื้อรับประทานได้ง่าย เนื่องจากออกผลตลอดทั้งปีไม่ต้องรอตามฤดูกาล หากรับประทานสดๆ ก็ทำให้เย็นฉ่ำดับร้อนได้ หรือคุณแม่บ้านบางคนนิยมนำไปปรุงอาหารก็ให้รสชาติที่ดีทีเดียว นอกจากนี้คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าสับปะรดยังมีคุณประโยชน์อีกมากมายที่เราไม่ควรมองข้าม คุณปฏิมา พรพจมาน นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ให้ความรู้ว่า ในสับปะรดมีสารอาหาร ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด โดยสารอาหารที่มีมาก ก็ได้แก่ แมงกานีสและวิตามินซี ซึ่งแมงกานีสเป็นเกลือแร่ตัวหนึ่งที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ เนื่องจากช่วยในการสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและควบคุมการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันให้เป็นพลังงานของร่างกาย ส่วนวิตามินซีช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถป้องกันโรคหัวใจ ความดันและโรคเหงือกได้ นอกจากนี้ยังมีสารตัวหนึ่งชื่อโบรมิเลน” (Bromelain) ซึ่งพบเยอะมากในสับปะรด ช่วยในการย่อยโปรตีนในเนื้อสัตว์ คุณแม่บ้านจึงนิยมนำมาหมักเนื้อสัตว์ซึ่งจะทำให้เนื้อนุ่มน่ารับประทาน และยังเป็นสารที่ช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ ให้ร่างกายอีกด้วย ส่วนวิตามินบี และวิตามินบี ซึ่งมีอยู่ในสับปะรดจำนวนไม่มาก แต่ก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินบี ช่วยในเรื่องของการป้องกันอาการเหน็บชา เหนื่อยง่าย และวิตามินบี ช่วยให้การทำงานของระบบประสาท และเม็ดเลือด หากร่างกายขาดจะลดการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยป้องกันโรค ทั้งนี้สับปะรดเป็นผลไม้ที่ช่วยดับความร้อนยังมีสรรพคุณทางยาในการช่วยขับปัสสาวะอ่อนๆ และมีกากใยอาหารที่ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย อย่างไรก็ตามหากเรารับประทานสับปะรดเพียงอย่างเดียวโดยไม่ดูแลสุขภาพและไม่ออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย คุณค่าจากสับปะรดก็จะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราเลย ที่สำคัญการบริโภคสับปะรดไม่ใช่จะมีเฉพาะประโยชน์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีข้อเสียด้วยเพราะ สับปะรดดิบมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ้าเราบริโภคในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายได้

มะเฟือง

มะเฟือง (Star Fruit) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Averrhoa Carambola หรือทางภาคใต้จะเรียกมะเฟืองว่า “เฟือง” เฉยๆ โดยผลไม้ชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในแถบเอเชียตะวันออกรวมถึงบ้านเราด้วย ซึ่งผลไม้ชนิดนี้มีลักษณะเป็นทรงกระสวย เมื่อหั่นเป็นแนวขวางจะเป็นรูปเหมือนดาวห้าแฉก สีผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง ส่วน เรื่องรสชาติจะออกเปรี้ยวแบบเผื่อนๆ โดยมีทั้งรสเปรี้ยวและหวานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ โดนผลมะเฟืองสุกนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด
โดยประโยชน์ของมะเฟืองในผลมะเฟืองสุกน้ำหนัก 100 กรัม จะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง 6.7 กรัม โปรตีน 1 กรัม ธาตุโพแทสเซียม133 mg. วิตามินซี 35 mg. ธาตุฟอสฟอรัส 12 mg. ตามลำดับและนอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย วิตามินบี5 วิตามินบี9 (หรือกรดโฟลิก)ธาตุสังกะสี และ ไขมัน อีกด้วย สำหรับผู้ที่รับประทานยาลดไขมัน ยาคลายเครียดอยู่ไม่ควรรับประทานมะเฟือง เนื่องจากมะเฟืองมีฤทธิ์ไปต่อต้านการทำงานของตัวยา และผู้ป่วยที่เป็นโรคไตหรือกำลังจะฟอกไต ก็ไม่ควรรับประทานมะเฟือง เพราะมะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูงซึ่งอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือทำให้อาการทรุดหนักเพิ่มมากขึ้นได้

ลำไย

ลำไย ถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าอย่างมหัศจรรย์ไม่เพียงแต่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการจากสารอาหาร ที่จำ เป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น ลำไยยังมี ีคุณค่าทางการแพทย์และเภสัชอีกด้วย
           ในทางการแพทย์แผนโบราณของจีนนั้น ได้นำลำไยโดยเฉพาะลำไยแห้งซึ่งมีสรรพคุณ ใช้บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด บำรุงประสาทตา บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการเครียด กระวนกระวาย นอนไม่หลับ เป็นต้น มาเป็นส่วนผสมในตัวยาด้วย
         สำหรับในประเทศไทยจากผลการวิจัยลำไยแห้งของทีมวิจัย จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ยืนยันสรรพคุณประโยชน์ ของลำไยในทางการแพทย์และเภสัชวิทยาทั้งยังเตรียม สารสกัด มาตรฐาน จากลำไยแห้งที่มีสรรพคุณทางการแพทย์และเภสัชอย่างน่าสนใจ
           ได้แก่สารออกฤทธิ์เหนี่ยวนำเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวให้ตายแบบอะพอพโตซิส สารที่ยับยั้งความเป็นพิษของสารก่อมะเร็งทางเดินอาหาร สารที่ออกฤทธิ์ลดการเสื่อมสลายของข้อเข่า
         ผลการวิจัยล่าสุดได้พบว่า ลำไยแห้งสามารถออกฤทธิ์ทำลาย และต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ทั้งยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเมลานิน ได้ดีกว่าสารเคมีที่ใช้ในเครื่องสำอางปัจจุบัน
         ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญที่รัฐบาลจัดให้อยู่ในกลุ่ม สินค้าเพื่อการส่งออก มูลค่าการส่งออกสูงปีละ หลาย พันล้านบาท ทั้งในรูปลำไยสด อบแห้ง แช่แข็ง และลำไยกระป๋อง
           องค์ประกอบหลักของเนื้อลำไยคือ Soluble Substances 79-77%  ซึ่งประกอบด้วย กลูโคส 26.91% ซูโครส 0.22% กรดทาทาริค 1.26% สารประกอบไนโตรเจน 6.31% โปรตีน 5.6% ไขมัน 0.5% และธาตุอาหารอื่น ๆ เช่น Ca, Fe, P, Na, K และวิตามิน
- เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา และมีรสฝาด ใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง
- ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๓๐-๔๐ ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็ง สามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้
- ผลลำไย มีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ภายในมีเนื้อขาวอมชมพูขาวอมเหลืองแล้วแต่สายพันธุ์ เนื้อลำไยสามารถบริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้ง สามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้หลับสบาย เจริญอาหาร
- ผลลำไยแห้งมักใช้ในอาหารและยาสมุนไพรของจีน เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยบำรุงกำลัง